วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

หน่วยที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัฒกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ

     "แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา" แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ

     1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
     - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
     - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
     - เครื่องสอน (Teaching Machine)
     - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
     - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
     - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

     2. ความพร้อม (Readiness) ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน

     3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น 
     - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
     - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
     - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
     - การเรียนทางไปรษณีย์

     4. ประสิทธิภาพในการเรียน การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
     - มหาวิทยาลัยเปิด
     - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
     - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
     - ชุดการเรียน